วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3


บันทึการเรียนการสอนครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2558
การเรียนการสอนวันนี้เกี่ยวกับเนื้อหาหลักการจัดกิจกรรม และประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความสำคัญ
- ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย 
เพราะศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย 

จุดมุ่งหมายของการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย 
- การสอนศิลปะเด็กไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง 
-การสอนศิลปะเด็ก เป็นการปลูกฝังนิสัยอันดีงาม ละเอียดอ่อน 
  และให้มีความพร้อมสำหรับการศึกษาในขั้นสูงขึ้นต่อไป 

การสอนศิลปะเด็กจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 
1. ฝึกทักษะการใช้มือ และเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
2.  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ + ความสามารถของเด็กแต่ละคน 
3. พัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และบุคลิกภาพ 
4. ปลูกฝังค่านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะ และวัฒนธรรมไทย 
5. ฝึกให้เด็กได้เริ่มต้นเรียนรู้ การใช้เครื่องมือในการทำงานศิลปะ ตลอดจนการเก็บรักษา และการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง 
6. ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม 
7. เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ 
8. นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 

บทบาทของครูศิลปะ 
- สร้างบรรยากาศ (ในการแระดิษฐ์ คิดค้น และผลิตผลงาน)
-ส่งเสริมสนับสนุน (พูดคุย ชักจูง เร้าความสนใจ ให้กำลังใจ)
- ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์งาน (ให้ความรัก ความอบอุ่น และคอยให้คำแนะนำ)
- เป็นต้นแบบที่ดี (สาธิตวิธีการที่ถูกต้อง ไม่เผด็จการ ส่งเสริมความกล้าคิด กล้าตัดสินใจ)
-อำนวยความสะดวก  (จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ รูปแบบศิลปะที่หลากกลาย)

เทคนิควิธีสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
- เข้าถึง ดูแลเอาใจใส่ ใกล้ชิดเด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียม
- เข้าใจ ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบคคล
- ให้ความรัก รัก และเข้าใจ สนับสนุน และพัฒนา ช่วยเหลือ
- สร้างสรรค์บรรยากาศ หลากหลาย สนุก อิสระ 
-มีระเบียบวินัย มีข้อตกลงร่วมกัน และปลูกฝังเรื่องระเบียบวนัยในการทำงาน
- ปลอดภัย คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก 

การสอนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 
- เปิดโอกาสให้เด็กกล้าแสดงออกอย่างเสรี มีอิสระในการสร้างสรรค์งาน 
- ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้  ทดลองด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก 
- เรียนรู้ผ่านการวางแผน และการแก้ไขปัญหา
- ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ 
- เน้นการเรียนปนเล่น
- สนับสนุน/เน้นเรื่องคุณค่าความงามความดี

กิจกรรมวันนี้
กิจกรรม วาดภาพระบายสี
คำสั่ง วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้ พร้อมตกแต่งและระบายสีให้สวยงาม



ภาพที่ฉันวาด


วันพฤหัสที่ 29 เดือนมกราคม พ.ศ.2558

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจไปสัมมนาทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา จึงมอบหมายงานให้นักศึกษาทำ 2 ชิ้น 

ชิ้นที่ 1: วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในเเต่ละช่อง


ผลงานของฉัน



ชิ้นที่ 2 : วาดโครงร่างอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ชนิด และออกเเบบลวดลายตามจินตนาการพร้อมระบายสี




ผลงานของฉัน

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2
วัน อังคาร ที่ 20 มกราคม 2558
วัน พฤหัสบดี ที่ 22 มกราคม 2558

       ความหมายของศิลปะหมายถึง  งานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความปราณีต วิจิตบรรจง งานศิลปะจึงไม่ใช้สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่
ความสำคัญ  1. ตอบสนองความต้องการของเด็ก เช่น ต้องการวาดรูป ระบายสี
                     2. เป็นพึ้นฐานทางการศึกษา ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

            ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
กิลฟอร์ด อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา  คือมิติเกี่ยวกับข้อมูล หรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด แบ่งเป็น 4 ลักษณะ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา พฤติกรรม 
มิติที่ 2  วิธีการคิด  คือมิติที่เเสดงลักษณะการทำงานของสมอง มี 5 ลักษณะ การรู้จัก การเข้าใจ การจำ  การคิดเเบบอเนกนัย การคิดเเบบเอกนัย และการประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด คือมิติที่เเสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง จากมิติที่ 1 +  มิติที่ 2  มี 6 ลักษณะ หน่วย  จำพวก  ความสัมพันธ์  ระบบ  การเเปลงรูป  และการประยุกต์

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
ทอร์แรนซ์ มีเเนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย
- ความคิดคล่องเเคล่ว
- ความคิดยืดหยุ่น
- ความคิดริเริ่ม
แบ่งความคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น 
- ขั้นการค้นพบความจริง
- ขั้นการค้นพบปัญหา
- ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
- ขั้นการค้นพบคำตอบ
- ขั้นยอมรับผลการค้นพบ
ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
คือ การทำงานของสมองสองซีก ที่ทำงานเเตกต่างกัน
สมองซีกซ้าย ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล
สมองซีกขวา ทำงานส่วนจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ 
การ์ดเนอร์ แบ่งความสามารถทางสติปัญญาของคนไว้ 9 ด้าน ได้เเก่
1. ความสามารถด้านภาษา 2. ด้านดนตรี 3.ด้านกีฬาและการเคลื่อนไหวของร่างกาย 4.ด้านมนุษยสัมพันธ์  5.ด้านธรรมชาติศึกษา 6.ด้านการเเก้ปัญหา  7.ด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์   8.ด้านมิติสัมพันธ์ 9.ด้านจิตวิเคราะห์
ทฤษฎีโอตา
เดวิส และซัลลิเเวน กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ จากการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา เเบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้เเก่
- ขั้นที่1 การตระหนัก
- ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ
- ขั้นที่ 3 เทคนิควิธี

- ขั้นที่ 4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ

พัฒนาการทางศิลปะ

    ขั้นที่1 ขีดเขี่ย
        ขั้นขีดเขี่ย (Placement stage) เป็นขั้นการทดลองให้เด็ก อายุ 2 ขวบ หรือ3 ขวบขีดๆ เขียนๆตามธรรมชาติของเด็ก ซึ่งมักจะขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้างลงบนกระดาษที่พื้นผิวของวัสดุอื่นๆ โดยปราศจากการควบคุมเด็กๆ จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตน โลกของเขานั้นมีการขีดๆ เขียนๆ นับเป็นพื้นฐานการพัฒนาตนเองของเด็ก งานศิลปะของเด็กเป็นการแสดงความคิดความรู้สึกอันเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาของชีวิตในความหมายนี้คืองานศิลป์ โดยการขีดๆเขียนๆจะเป็นการแสดงออกของเด็กแต่ละอันเป็นเอกลักษณ์ของเขาเองการศึกษาถึงรูปแบบต่างๆของการวางตำแหน่งของภาพของเด็กยกตัวอย่างเช่นเด็กอาจจะขีดเขียนลงกระดาษด้านซ้ายด้านขวาหรือตรงกลางของกระดาษ เคลล็อกได้จำแนกตำแหน่งของการขีดๆเขียนๆของเด็กออกเป็น17ตำแหน่งและยังได้รับการยืนยันจากนักค้นคว้าอื่นๆว่าเด็กจะใช้รูปแบบของการวางตำแหน่งเหล่านี้ในการฝึกฝนในขั้นแรก ในแต่ละรูปแบบก็จะพบในแต่ละขั้นของการพัฒนาของเด็กเมื่อเด็กพบวิธีการขีดๆ เขียนๆเด็กก็จะพัฒนาตำแหน่งของภาพด้วยซึ่งก็กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สะสมอยู่ตัวเด็กตลอดเวลาของการพัฒนาด้านศิลปะจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่
 ขั้นที่ 2 - ขีดเขียนเป็นรูปร่าง
     ขั้นขีดเขียนเป็นรูปร่าง (Shape stage) การทดลองนี้ทำกับเด็กอายุ 3 หรือ4 ขวบ ซึ่งจะพบว่าการขีดๆเขียนๆของเขาเริ่มจะมีรูปร่างขึ้นหลังจาก Placemen stage ไม่นานเด็กอายุ 3 หรือ 4 ขวบเริ่มจะขีดๆเขียนๆเป็นรูปร่างขึ้นถ้าสังเกตอย่างใกล้ชิดจะพบว่าเด็กจะค่อยๆเปลี่ยนจากการขีดเขียนเป็นเส้นๆไปเป็นแบบที่เป็นรูปเป็นร่าง โดยขั้นแรกเด็กจะขีดๆเขียนๆโดยลากเส้นไปมาหลายครั้งด้วย สีเทียน ดินสอหรือพู่กัน รูปร่างของภาพจะมีความหมายและค่อยๆชัดเจนขึ้น แต่ไม่มีเส้นขอบเขตที่ชัดเจนหลังจากนั้นเด็กจะค่อยๆค้นพบรูปร่างต่างๆในขณะเดียวกันเส้นที่แสดงขอบเขตของรูปร่างก็ชัดเจนขึ้นเด็กจะวาดรูปร่างที่คุ้นเคยได้เช่น วงกลมวงรีสี่เหลี่ยมจัตุรัสสี่เหลี่ยมผืนผ้าสามเหลี่ยมและรูปกากบาทฯลฯรูปแต่ละรูปเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการฝึกฝนการขีดๆเขียนๆตลอดเวลา
      ขั้นที่3 รู้จักออกแบบ (Design stage) ขั้นนี้เด็กเริ่มมีความสามารถรวมการขีดๆ
เขียนๆ ที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นรูปโครงสร้างหรือเค้าโครงในช่วงนี้เด็กเริ่มจะนำรูปร่างต่างๆมารวมกันเป็นโครงสร้างที่คุ้นเคยเช่นการนำเอากากบาทใส่ลงในสี่เหลี่ยมผืนผ้า (รูปที่1) หรือรูปวงกลมเล็กใส่ลงในวงกลมใหญ่(รูปที่2)รูปที่1รูปที่2เมื่อเด็กนำเอารูปร่างต่างๆมารวมกัน เช่นนี้ก็แสดงว่าเด็กเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่าขั้นรู้จักออกแบบเด็กเรียนรู้ว่ารูปร่างต่างๆเหล่านั้นสามารถขยับตำแหน่งได้เช่นวางติดกัน วางใกล้ๆกันหรือวางห่างๆกันหรือนำรูป 2 หรือ 3 หรือมากกว่ามารวมกันเป็นแบบนอกจากนี้เด็กยังสามารถรวมวัตถุรูปทรงต่างๆเข้าด้วยกันมีความสามารถและรู้ว่าวัตถุต่างๆมีสีรูปร่างน้ำหนักคุณภาพและมีชื่อเรียกการที่เด็กเอากากบาทใส่ลงในสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือเอาวงกลมเล็กใส่ลงในวงกลมใหญ่ เด็กจะได้เพิ่มประสบการณ์ในการเห็น และเพิ่มความมีไหวพริบขึ้น
      ขั้นที่ 4 การวาดแสดงเป็นภาพ
 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (Pictorial stage) ขั้นนี้เป็นขั้นขีดๆเขียนๆของเด็กอายุ
4 หรือ 5 ขวบ ซึ่งเริ่มจะแยกแยะวัตถุที่เหมือนกันตามมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้ขั้นนี้ เป็นขั้นต่อจากขั้นรู้จักออกแบบ (Design stage)เด็กอายุ4และ5ขวบจะเริ่มเขียนรูปแบบที่ให้ภาพชัดเจนพอที่ผู้ใหญ่จะรู้ได้ ขั้นตอนนี้แสดงถึงความเป็นเด็กที่โตขึ้น และมีจินตนาการเด็กจะสามารถรวมขั้นตอนต่างๆที่ผ่านมาข้างต้นทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งไปสู่งานที่เป็นจริงและเป็นการแสดงถึงงานศิลปะด้วยจากการเริ่มต้นวาดรูปวงกลมอาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบความสัมพันธ์ของศิลปะตัวอย่างเช่นการลากเส้นรัศมีออกจากจุดศูนย์กลางหรือออกจากลงกลมก็ดูเหมือนเป็นแสงอาทิตย์ที่ออกจากดวงอาทิตย์ (รูปที่ 5)หรือบางทีอาจจะดัดแปลงเป็นรูปตะขาบได้(รูปที่ 6)รูปที่5 รูปที่6งานศิลป์โดยเฉพาะรูปนี้เป็นขบวนการของความคิดสร้างสรรค์อันมีเอกลักษณ์ของตัวมันเองพระอาทิตย์หรือตะขาบเกิดจากการรวมของเส้นและวงกลมทำให้เห็นรูปดังกล่าวมากกว่าจะเห็นเป็นวงกลมและเส้นเป็นความจริงที่ว่างานศิลป์ในแต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์กับภาพทั้งภาพเช่นเดียวกับมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ

             สรุปได้ว่า พัฒนาการของเด็กปฐมวัย เป็นพัฒนาการที่มีลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคนซึ่งจะมีพัฒนาการแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่นการอบรมเลี้ยงดูสภาพแวดล้อมการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องพร้อมทั้งการสนับสนุนด้านร่างกายโดยเฉพาะในเรื่องการให้กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการพัฒ
นาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 


กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมศิลปะส่วนตัวฝึกให้เด็กได้ใช้สีที่หลากหลายในการระบายสี ไม่ใช้สีซ้ำซาก หรือใช้สีเพียงสีใดสีหนึ่ง
ผลงานของฉัน

ผลงานของเพื่อนทุกคนในหอ้ง

 

                                           
                                               
                                       
          

บันทึการเรียนการสอนครั้งที่ 1


บันทึกการเรียนการสอนคั้งที่ 1


วัน อังคาร ที่ 13 มกราคม 2558
วัน พฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม 2258


 1.เป็นวันแรกของการเรียนการสอนอาจารย์พูดถึงแนวการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้าสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยและอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนในรายวิชานี้

2.อาจารย์ให้กระดาษคนระแผ่นแล้วให้วาดภาพตนเอตามจินตนาการให้เวลา15นาทีและอาจารย์ก็ให้นำภาพที่วาดไปติดไว้บนกระดานหนาห้อง

ชื่อภาพของฉัน ไปเตะบอล

        อาจารย์ได้อธิบายเทคนิคการติดผลงานหน้าห้องเรียนควรจะเรียงจากซ้ายไปขวาจากบนลงล่างให้สวยงามและเวลาที่เด็กทำงานครูผู้สอนควรเดินดูขั้นตอนการทำผลงานศิลปะของเด็กเพราะขั้ยตอนการทำของเด็กแต่ละคนแตกต่างกันไม่ใช้แค่รอดูผลงานของเด็กตอนที่เสร็จแล้วเท่านั้นและอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนพูดถึงภาพของตนเองว่าภาพนี้คืออะไร ทำให้เราได้เทคนิกที่สามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
     

 3.การนำเสนองานกลุ่มกลุ่มละ6คนแต่ละกลุ่มช่วยกันแสดความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยและออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยมีคำถามอยู่ทั้งหมด 7ข้อ กลุ่มของดิฉันได้ร่วมกันคิดและนำเสนอออก  


ศิลปะคือ
-  การขีด  เขียนตามจิตนาการ  
 -  การวาด  การขีด  ตัดแปะ  การปั่น

ความสำคัญของศิลปะ
 - พัฒนาพํฒนาการของเด็กครบทั่ง4ด้าน
1.ด้านร่างกาย เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
2.ด้านอารมณื เด็กเกิดความเพลิดเพลินผ่อนคลาย
3.ด้านสังคน  เด็กได้ทำานร่วมกับเพื่อนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4.ด้านสติปัญญา เด็กแสดงออกทางความรู้สึก  การใช้ภาษา

ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ไม่ปิดกั้นจินตนาการของเด็ก
- ให้เด็กได้สร้าสรรค์ผลงานของตนเองอย่างเต็มที่
-  เด็กได้ลงมือกระทำตามจินตนาการ
- เด็กได้ถ่ายทอดความคิดของตนเองผ่าผลงานศิลปะ

คุณลักษณะของครู
- อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส
- มีความคิดที่สร้าวสรรค์แปลกใหม่
-ไม่ควรติผลงานของเด็ก
- ครูมีหน้าที่ชี้แนะ แนะนำ แต่ไม่ควรสั่งให่เด็กทำ

ครูสอนศิลปะอะไรให้กับเด็ก
- สี   การบอกชื่อสี

ตัวอย่างกิจกรรม
- เป่าสี       - การพิมพ์ภาพจากใบไม้ 
- ฉีกปะ      - ระบายสี
- พับสี       - หยดสี
- ปั่นดินน้ำมัน   - พับกระดาษ

ความคาดหวัง
- ได้เทคนิกการสอนศิลปะที่หลากหลาย
- สามารถนำกิจกรรมในห้องเรียนไปปรับสอนกับกิจกรรมในอนาคต
- สามารถนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างเป็นผลงานได้

ประเมินผลงาน
- ประเมินจากกระบวนการทำชิ้นงานของเด็ก
- ผลงานของเด็ก
- การถ่ายทอดเรื่องราวของเด็กผ่านชิ้นงาน


การนำเสนอ ผลงานของกลุ่มเพื่อน

 


ประเมินหลังการเรียน

ประเมินอาจารย์ผูสอน  เข้าสอนตรต่อเวลามีเทคนิกการสอนที่เข้าใจง่ายมีกิจกรรมศิลปะต่างๆให้ทำในห้องเรียนทำให้สนุกสนานในการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายในความร่วมมือในการทำกิจรรม
ประเมินตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยายแต่งกายเรียบร้อย